ทุกคนต้องเหงื่อออก แต่จะมีซักกี่คนรู้จักเหงื่อของตัวเอง และรู้ว่าเหงื่อตัวเองเค็ม หรือ เข้มข้น มาก/น้อยแค่ไหน Sweat Concentration Test คือการทดสอบเพื่อทราบการสูญเสียโซเดียมที่เกิดจากการเสียเหงื่อ โดยข้อมูลที่ผู้เข้ารับการทดสอบจะได้รับกลับไป คือ ปริมาณ มิลลิกรัมของโซเดียมที่จะสูญเสียไปในเหงื่อ 1 ลิตร และ ยังได้รับแผนการเติมโซเดียม ทั้งระหว่าง ซ้อม และ แข่ง การทดสอบนี้ ไม่ใช่การทดสอบเพื่อทราบปริมาณเหงื่อที่ไหลออกไป (Sweat Rate) แต่ทำเพื่อทราบความเข้มข้นของเหงื่อ (Sweat Concentration) การทดสอบปริมาณเหงื่อที่ไหลออกไปสามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยใช้วิธี C + (B-A)
ชั่งน้ำหนักก่อนการออกกำลังกาย (A)
ชั่งน้ำหนักหลังการออกกำลังกาย (B)
ปริมาณน้ำที่ดื่มเข้าไป (C)
เมื่อคุณนำผลการทดสอบ Sweat concentration มาคำนวณรวมกับ Sweat Rate และเวลาที่ใช้ทดสอบ จะทำให้คุณสามารถหาค่า ปริมาณโซเดียมทั้งหมดที่สูญเสียไปในระยะเวลานั้นๆ
อ่านข้อมูลการคำนวณ Sweat Rate ด้วยตนเองได้ที่ Click ทั้งนี้หากคุณต้องการรักษาสภาวะร่างกายที่สมบูรณ์ไว้ การดื่มน้ำเพียงอย่างเดียวนอกจากจะไม่เพียงพอแล้วยังอาจทำให้ร่างกายของคุณเสี่ยงต่อสภาวะ Hyponatremia หรือการมีแร่ธาตุในเลือดต่ำซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย การเติมโซเดียมเข้าร่างกายทั้งก่อน,ระหว่างและหลังการซ้อม/แข่ง ทางไกล จึงมีความจำเป็นอย่างมาก
จุดเด่นของการทดสอบนี้คือ ผู้เข้ารับการทดสอบสามารถทดสอบโดยการนั่งพูดคุยและไม่ต้องออกกำลังกายใดๆทั้งสิ้น
เมื่อเราออกกำลังกายไม่ว่าจะหนัก หรือเบา ร่างกายเราทุกคนจำเป็นต้องปรับและรักษาอุณหภูมิแกนกลางไว้ที่ 36.1-37.2 c โดยการขับเหงื่อ ซึ่งในเหงื่อของทุกคนจะมีโซเดียมในปริมาณที่มาก / น้อยและเข้มข้นต่างกัน การแข่งวิ่งมาราธอน แข่งวิ่งเทรล แน่นอนว่าต้องมีการวิ่งที่เพซแข่งในระยะเวลานาน มากกว่า 2 ชั่วโมง หากเราละเลยหรือไม่ทราบข้อมูลความเข้มข้นของโซเดียมที่เสียไปทางเหงื่อในทุกๆลิตร การเติมโซเดียมของเราจะทำได้แค่ในลักษณะกะประมาณซึ่งนั่นทำให้ ผลการแข่งไม่เป็นไม่ตามที่ตั้งใจ หรือ อาจต้องออกจากการแข่ง
คนทำงานกลางแจ้ง
นักกีฬา Endurance Sport หรือ คนที่เล่นกีฬาเป็นระยะเวลานานมากกว่า 1 ชั่วโมง
3 ปัจจัยที่ทำให้ เหงื่อของเราออกมาก/น้อย
ชนิดกีฬา
อากาศร้อน/เย็น
ความเข้มข้นหรือ ความหนักของการเล่นกีฬา
Sports Drink 3 ประเภท ที่เราควรรู้จัก
Isotonic (ความเข้มข้นใกล้เคียงกับเลือด)
Hypertonic (ความเข้มข้นสูงกว่าเลือด)
Hypotonic (ความเข้มข้นน้อยกว่าเลือด)
ควรดื่ม Isotonic Drinks เมื่อไร? เครื่องดื่มประเภท Isotonic ส่วนใหญ่จะมีค่าความเข้มข้นของ Carbohydrate ในระดับปานกลางประมาณ 6-8% (มากกว่า hypotonic 1.5-2 เท่า) และถูกดูดซึมเข้าร่างกายได้ไม่ยากนัก ซึ่งเครื่องดื่มให้พลังงานที่ขายอยู่ทั่วไปจะอยู่ในประเภทนี้ Isotonic Drinks จะเป็นประโยชน์เมื่อใช้กับการออกกำลังกายระยะเวลาสั้น แต่มีความเข้มข้นสูง (Short duration & High Intensity Exercise)
ควรดื่ม Hypertonic drinks เมื่อไร ? ลักษณะที่สำคัญของ Hypertonic drinks คือ การมีปริมาณ Carbohydrate ในตัวเครื่องดื่มในปริมาณสูงมากเพื่อให้พลังงานที่สูงและ เหมาะกับการออกกำลังกายที่หนักมากๆ ควรดื่ม Hypertonic drinks เมื่อเราต้องการเติมพลังงานเข้าร่างกายเป็นอันดับแรก และไม่ควรดื่มเมื่อเราต้องการเติมของเหลวเข้าร่างกายเป็นอันดับแรก
ควรดื่ม Hypotonic drinks เมื่อไร ? เครื่องดื่มประเภทนี้จะถูกดูดซึมเข้าร่างกายง่ายที่สุดแต่ในขณะเดียวกันจะมีปริมาณ Carbohydrate น้อยที่สุด ควรดื่ม Hypotonic drinks เมื่อสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การทดแทนของเหลวเข้าร่างกาย เช่นการออกกำลังกายที่มีระยะเวลานานและมีเหงื่ออกจำนวนมาก