Sport LAB

ห้องทดสอบศักยภาพโดยอ้างอิงหลักวิทยาศาสตร์อย่างเต็มรูปแบบภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ

Body Composition Analysis

คือการวิเคราะห์มวลร่างกาย โดยแยกตามสัดส่วนกล้ามเนื้อ ไขมัน น้ำ กระดูก เพื่อทราบสภาวะพื้นฐานของร่างกาย ณ ปัจจุบัน เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการ ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และวางแผนสู่อนาคต ที่เหมาะสำหรับทุกคน

ฟิตเนส เกษตรนวมินทร์ Body Composition Analysis

Body Composition Analysis คือ?

Read More
View Less

คือ การวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกายโดยการวัดความต้านทานต่อการไหลของกระแสไฟฟ้าปริมาณน้อยๆ (เพียง 1-2 โวลต์) ในเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายซึ่งมีแรงต้านทานต่อการไหลของกระแสไฟฟ้าไม่เท่ากัน ทำให้สามารถวัดส่วนประกอบทั้งหมดในร่างกายได้ Body Composition มีความสำคัญต่อมนุษย์เรา เป็นหนึ่งในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพร่างกาย หากอยู่ในเกณฑ์ดี จะหมายความว่าคุณมีสุขภาพที่ดีด้วย ดังนั้นจึงได้มีการสร้างเครื่องวัดวิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกายขึ้นมา เพื่อให้เราสามารถวัดวิเคราะห์ส่วนต่างๆ ออกมาเป็นค่าเปอร์เซ็นต์ และนำไปใช้เพื่อประโยชน์ ดังนี้

  • ประเมินสัดส่วนของร่างกาย

  • ทำให้สามารถวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกายอย่างละเอียด รวมถึงปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย

  • ช่วยให้ทราบความสมดุลและความแข็งแรงของร่างกาย

  • ช่วยในการประเมินภาวะโภชนาการของร่างกายได้

  • ทำให้เราทราบถึงปริมาณไขมันที่แน่นอนในร่างกายของเรา

  • สามารถวางแผนดูแลสุขภาพ และวินิจฉัยความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

ในปัจจุบันนี้ เราใช้เทคโนโลยี Bioelectrical Impedance Analysis (BIA) ซึ่งทำได้ง่าย รวดเร็ว ปลอดภัย และมีความแม่นยำสูง ไม่ขึ้นอยู่กับตัวผู้วัด เทคโนโลยีนี้ จะสามารถวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกายได้ละเอียด โดยใช้หลักการที่ว่า น้ำเป็นสื่อนำไฟฟ้า และไขมันเป็นฉนวน จากนั้นจะทำการวัดความต้านทานต่อการไหลของกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ในเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย โดยที่ส่วนของกระดูกและไขมันจะนำไฟฟ้าไม่ดี จึงมีแรงต้านสูง แต่เลือด อวัยวะภายใน และกล้ามเนื้อจะนำไฟฟ้าได้ดี จึงมีแรงต้านต่ำ

ค่าที่วัด

Read More
View Less
  • น้ำหนักมาตรฐาน (Standard Weight) เป็นน้ำหนักในเกณฑ์มาตรฐานที่คุณควรทราบ ซึ่งค่าเกณฑ์มาตรฐานจะช่วยบอกว่าคุณมีความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน หรือผอมหรือไม่ ซึ่งจะต้องใช้การควบคู่กับค่าอื่นๆ เพื่อการวิเคราะห์ที่แม่นยำมากขึ้น

  • น้ำหนัก (Weight) ประกอบไปด้วยไขมัน กล้ามเนื้อ กระดูกและน้ำ ซึ่งหากดูเพียงน้ำหนักอย่างเดียวแล้วประเมินว่าอ้วน หรือผอมเลยจะไม่ได้ ที่ถูกต้องจะต้องดูที่รายละเอียดแต่ละค่าด้วย เช่น คนที่มีน้ำหนักมากแต่มาจากสัดส่วนกล้ามเนื้อที่เยอะจะไม่ได้ประเมินว่าอ้วน

  • เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย (Percentage Body Fat – PBF) นอกจากจะบ่งบอกถึงภาวะโรคอ้วน หรือการผอมเกินไปแล้ว ยังใช้ในการกำหนดรูปร่างควบคู่ไปกับค่า BMI โดยตรวจวัดไขมันทั้งใต้ผิวหนังและไขมันในช่องท้อง (แต่ไม่รวมไขมันในหลอดเลือด)

  • ระดับไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat Index / Visceral Fat level) ใช้สำหรับในการประเมินภาวะอ้วนลงพุง ไขมันในช่องท้องจะแทรกอยู่ระหว่างอวัยวะภายในช่องท้อง เพื่อป้องกันความเสียหายจากการกระแทกกัน เมื่อไขมันในช่องท้องสูงเกินช่วงปกติ ก็จะสามารถละลายเข้าสู่หลอดเลือดและเป็นต้นเหตุให้เกิดภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง หลอดเลือดหัวใจ/สมองตีบตันต่อไป

  • มวลไขมัน (Body Fat / Fat mass) ร่างกายจะเก็บพลังงานส่วนเกินไว้สำรองในรูปของไขมันทั้งใต้ผิวหนังและไขมันในช่องท้องของเราเองในหน่วยกิโลกรัม แต่ถ้าสะสมไขมันมากเกินไปจนส่งผลให้เกิดภาวะโรคอ้วน โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทำให้เกิดสภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

  • ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index – BMI) เป็นการประเมินภาวะน้ำหนักขาด เกิน หรือเหมาะสมกับเกณฑ์ โดยอิงกับส่วนสูง หากจะประเมินภาวะโรคอ้วนต้องใช้ควบคู่ไปกับปริมาณไขมันในร่างกาย เนื่องจากในคนที่มีกล้ามเนื้อเยอะแต่ไขมันไม่เกินเกณฑ์ ก็จะไม่ได้บ่งบอกถึงภาวะโรคอ้วนเสมอไป

  • มวลกล้ามเนื้อ (Muscle / Soft Lean Mass – SLM) เป็นเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย คือ กล้ามเนื้อเรียบ (จะอยู่ตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย) และกล้ามเนื้อลาย (จะยึดติดกับกระดูก) มีหน้าที่เสริมสร้างความแข็งแรง ช่วยให้มีการยืดหยุ่นไปกับการเคลื่อนไหว คนส่วนใหญ่มีมวลกล้ามเนื้อน้อย เนื่องจากการขาดออกกำลังกายและรับประทานอาหารในกลุ่มโปรตีนไม่เพียงพอ

  • มวลกล้ามเนื้อลาย / กล้ามเนื้อติดกระดูก (Skeletal Muscle Mass – SMM) เป็นเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อที่ยืดติดกับกระดูกทั่วร่างกาย เมื่อมีการออกกำลังกายมากหรือหนักขึ้นจะทำให้กล้ามเนื้อส่วนนี้มีขนาดใหญ่และแข็งแรงขึ้น ยิ่งกล้ามเนื้อลายมีขนาดใหญ่มากเท่าไรก็ยิ่งมีความต้องการปริมาณโปรตีนสูงขึ้นด้วย และยังส่งผลต่อระบบการเผาผลาญของร่างกายที่สูงขึ้นตามมา

  • มวลกระดูก หรือปริมาณแร่ธาตุในกระดูก (Bone mineral content – bone / mineral / BMC) คือมวลกระดูกและฟันหรือแร่ธาตุต่างๆ ในร่างกายคิดเป็นกิโลกรัมจากน้ำหนักตัวทั้งหมด กระดูก มีหน้าที่ช่วยค้ำจุนโครงร่างของร่างกาย ถ้าหากน้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์ที่เหมาะสมกับมวลกระดูกที่รองรับน้ำหนักได้ ก็จะส่งผลต่อสุขภาพของกระดูกรวมถึงข้อต่อต่างๆ และเมื่ออายุมากขึ้นแร่ธาตุในกระดูกจะค่อยๆ สลายตัว ทำให้สูญเสียความหนาแน่น จึงนำไปสู่โรคกระดูกพรุนหรือบางได้

  • น้ำในร่างกาย (Water / Total Body Water – TBW) หน้าที่ลำเลียงสารอาหาร ออกซิเจน และอื่นๆ รวมทั้งรักษาสมดุลอุณหภูมิ ซึ่งช่วยทำให้เกิดการเผาผลาญไขมันและน้ำตาล การที่ร่างกายสูญเสียน้ำหรือมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอจะส่งผลต่อระบบการเผาผลาญได้

  • โปรตีน (Protein) มีหน้าที่ผลิตและซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย และยังเป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อ ถ้าหากร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ ร่างกายจะดึงโปรตีนไปใช้เป็นพลังงานซึ่งนำไปสู่การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อได้อย่างรวดเร็ว

  • มวลร่างกายไร้ไขมัน (Lean Body Mass / Fat Free Mass – FFM) มักใช้ในการดูร่างกายที่ปราศจากไขมันให้ได้กล้ามเนื้อที่เด่นชัด เนื่องจากร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน การหาสัดส่วนที่เหมาะสมจึงจำเป็นต้องใช้เวลาที่เหมาะสม โภชนาการที่ดี การพักผ่อนที่เพียงพอและการฟื้นฟูร่างกายควบคู่กันไป

  • อัตราการเผาผลาญ (Basal Metabolic Rate – BMR) บ่งบอกถึงพลังงานต่ำสุดที่ร่างกายต้องการขั้นพื้นฐาน การลดอาหารเพื่อลดปริมาณแคลอรี่ที่รับประทานต่อวัน ควรลดลงไม่เกิน 20-25% ของ BMR และเมื่ออายุมากขึ้น BMR จะเริ่มลดลงเรื่อยๆ จึงควรออกกำลังกายให้มากขึ้นตามไปด้วย เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณของพลังงานที่ใช้และลดปริมาณไขมันในร่างกาย

  • ประเภทรูปร่าง (Bodily Form / Body Type) หุ่นแต่ละคนไม่เหมือนกันนั่นคือต้นทุนเดิมเป็นตัวกำหนดรูปร่างของร่างกาย จึงส่งผลให้แต่ละคนลดน้ำหนักเร็วช้าต่างกัน การประเมินรูปร่างดูได้โดยการเทียบกันของไขมันในร่างกายกับ BMI ถ้ายิ่งมีไขมันในร่างกายมากก็จะยิ่งอ้วนมาก คนที่อ้วนควรจะเพิ่มกล้ามเนื้อและใส่ใจในเรื่องของการลดไขมันในร่างกายให้มากขึ้น

  • ระดับโรคอ้วน (Obesity Degree) แสดงถึงสถานะของโรคอ้วน ซึ่งเกิดจากการสะสมของไขมันในร่างกาย โดยแบ่งระดับความรุนแรงของภาวะโรคอ้วนอย่างง่าย

  • อายุร่างกาย (Physical Age / Biological Age) แก่กว่าวัยหรืออ่อนกว่าวัยรู้ได้ทันที เนื่องจากอายุร่างกายแสดงถึงสุขภาพของภายในร่างกายเป็นผลมาจากการวิเคราะห์น้ำหนักตัวและปริมาณของไขมัน กล้ามเนื้อของร่างกายที่เหมาะสมต่อเพศและวัย ถ้าอายุร่างกายสูงกว่าอายุจริงก็แสดงว่าจะต้องปรับปริมาณไขมันลดลง เพิ่มกล้ามเนื้อโปรตีนและอัตราการเผาผลาญให้ดียิ่งขึ้น จึงจะทำให้อายุร่างกายดียิ่งขึ้นตามไป

  • คะแนนรวมร่างกาย (Body Index) บ่งบอกถึงภาพรวมของสุขภาพร่างกาย โดยประเมินจากค่าต่างๆ ที่วัดผลได้รวมกัน ยิ่งคะแนนสูงจะแสดงถึงเกณฑ์สุขภาพโดยรวมที่ดีอีกทั้งยังนำไปจัดลำดับเมื่อมีการเปรียบเทียบกับคนอื่นได้

  • ปริมาณพื้นที่ของไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat Area) เครื่องวิเคราะห์องค์ประกอบที่ดี ควรวัดได้เป็นปริมาณพื้นที่ กี่ตารางเซนติเมตร เช่น หนึ่งตารางเซนติเมตร = 1×1 cm จำทำให้ทราบปริมาณไขมันในช่องท้องได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น

  • มวลไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat Mass) คือปริมาณของไขมันที่อยู่ภายในช่องท้อง ค่านี้อาจจะวัดออกมาเป็นปริมาณรวม

  • มวลไขมันใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Fat Mass) เป็นอีกหนึ่งส่วนที่มีการสะสมไขมัน และเราควรทราบเพื่อนำไปใช้ในการประเมินสุข

การวัด Body Composition
Read More
View Less

การวัด Body Composition เป็นเกณฑ์ช่วยให้เราติดตามความแข็งแรงของร่างกาย ในระหว่างออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี เพราะตัวเลขบนตาชั่งไม่สามารถบ่งบอกได้ว่าจริง ๆ แล้วเรามีกล้ามเนื้อและไขมันในร่างกายมากน้อยแค่ไหนหากใครเข้าข่ายว่าอ้วน หรือเริ่มอ้วนแล้วก็อย่าลืมดูแลสุขภาพ และควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพหลาย ๆ ประการที่สามารถตามมาได้ในอนาคต  
ที่มา : inbodythai , vayowellness

PERFORMER

MOO

FITNESS INSTRUCTOR

Non

STRENGTH COACH

YOS

FITNESS INSTRUCTOR

JACK

FITNESS INSTRUCTOR

KUNGKING

FITNESS INSTRUCTOR

JOSHO

FITNESS INSTRUCTOR

NINEW

FITNESS INSTRUCTOR

MAI

FITNESS INSTRUCTOR

STAGE Find The Real U - Fitness
95 Yothinpattana 11 Yaak 7 Khlong Chan, Bang Kapi District, Bangkok, 10240

Tel : 02-003-5445

Copyright © 2022 All Rights Reserved​ stage find the real u